วันจันทร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่ 6 ประโยชน์จากการเรียนรู้เรื่องBlog

ผลที่ได้จากการเรียนการทำ  blog
                1. เป็นเครื่องมือแลกเปลี่ยนความรู้ของผู้เรียน การเขียน blog จะอนุญาตให้ผู้อ่านสามารถแสดงความคิดเห็นต่อความรู้ที่ผู้เรียนเขียนถ่ายทอดลงไปใน blog และผู้เรียนได้เขียนโต้ตอบต่อความคิดเห็นนั้น ๆ ในลักษณะของการสนทนาเพื่อหาความแตกฉานในตัวความรู้ ถือได้ว่าเป็นการร่วมกันสกัดความรู้ฝังลึกได้อย่างดี
                2. ผู้เรียนสามารถใช้เป็นเครื่องมือสร้างความรู้ บันทึกข้อมูล เรื่องราว  ข่าวสารความรู้และประสบการณ์ต่าง ๆ ในสิ่งที่สนใจ เป็นการถ่ายทอดสิ่งที่ถูกบันทึกไว้ในสมองลงสู่ตัวหนังสือ การเขียนมีอิสระทางความคิดในรูปแบบที่เป็นตัวของตัวเอง  ถ้าผู้เรียนมีการเขียน blog อยู่เป็นประจำก็จะสามารถนำมาสู่การสร้างขุมความรู้  ( Knowledge  Assets ) ของผู้เรียนอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ ผู้เรียนสามารถเก็บรวบรวมและแก้ไขหรือเพิ่มเติมข้อมูลความรู้ต่าง ๆ ได้โดยสะดวกและ รวดเร็ว
               3. เป็นเครื่องมือในการค้นหาความรู้ ของผู้เรียน ผู้ชำนาญการ และชุมชนปฏิบัติ การเขียนและอ่าน blog เป็นวิธีการค้นหาความรู้ ช่วยให้ค้นพบผู้มีความรู้ความชำนาญในด้านต่าง ๆ ได้รวดเร็วขึ้น ไม่ว่าจะโดยการเขียน blog ที่มักอ้างถึง blog อื่น ๆ โดยการโยงลิงค์ไปหาบทความหรือบันทึกนั้น ๆ อีกทั้งลิงค์ที่ผู้เรียนบรรจุไว้ใน blog ซึ่งอยู่นอกตัวบทความ หรือการร่วมเป็นสมาชิกของ blog ในกลุ่มที่เรียน
4. เป็นเครื่องมือในการเผยแพร่ความรู้ ให้กับผู้เรียน โดยหลักการของ blog คือการเผยแพร่เรื่องราวที่ผู้เขียนเขียนไว้บน blog เพื่อแสดงตัวตนของผู้เขียนออกสู่สาธารณชนซึ่งนั่นหมายถึง blog ย่อมมีความสามารถในการสนับสนุนการเข้าถึงความรู้ได้ง่าย สะดวก และรวดเร็ว ทันทีที่ผู้เขียนมีการเพิ่มเติมหรือแก้ไขความรู้ที่มีอยู่บน blog ไฟล์ RSS ก็จะทำการดึงเอาเนื้อหานั้น ๆ มาใส่ไว้ในไฟล์ด้วยทันที
                5. เป็นเครื่องมือในการรวบรวมและแยกแยะประเภทของความรู้ สกัดแก่นความรู้ และสร้างความสัมพันธ์ของความรู้ การให้ผู้เรียนระบุหมวดหมู่หรือคีย์เวิร์ดของบันทึกนั้น ๆ ไว้ ซึ่งบันทึกหนึ่ง ๆ อาจมีความเหมาะสมในการแยกหลายหมวดหมู่ ถือเป็นการสกัดแก่นความรู้จากขุมความรู้ โดยที่ตัวผู้เรียนเอง อาจจะดึงเอาคีย์เวิร์ดของชุมชนที่ถูกรวบรวมผู้ใช้หลายคน
                6. เป็นเครื่องมือในการสร้างลำดับความน่าเชื่อถือและความถูกต้องของความรู้ ของผู้เรียนโดยมีผู้นำเอาความรู้นั้นไปใช้ ให้เกิดผลและนำผลมาปรับปรุงความรู้เดิมให้เกิดความรู้ตัวใหม่ หรือทำให้ความรู้นั้น ๆ มีความถูกต้องมีหลักฐานที่วัดได้ทางวิทยาศาสตร์ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ระบบมีการจัดลำดับความน่าเชื่อถือ และความถูกต้องของความรู้หนึ่ง ๆ ได้โดยตรงจากผู้อ่าน blog  ซึ่งอาจจะเป็น ผู้ที่ได้นำเอาความรู้นั้นๆ ไปใช้เองอีกด้วย หรือการแสดงสถิติต่างๆของ blog เช่น บันทึกที่ได้รับการแสดงข้อคิด เห็นมากที่สุด หรือ บันทึกที่มีผู้อ่านมากที่สุด ก็สามารถเป็นเครื่องมือพิสูจน์ความน่าเชื่อถือ และความถูกต้องของความรู้ของผู้เรียนได้ในระดับหนึ่ง
                7. ได้ฝึกประสบการณ์ในการใช้คอมพิวเตอร์เพิ่มมากขึ้น ทำให้ผู้เรียนมีความคล่องตัวในการใช้ เครื่องคอมพิวเตอร์มากขึ้น     
                8. นำความรู้ที่ได้มาสอนนักเรียนและการทำ KM ในองค์กร/โรงเรียนของตนเอง

วันเสาร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่ 5

กิจกรรมการศึกษาดูงานเป็นกิจกรรมที่สำคัญอย่างหนึ่งการเรียนตามหลักสูตร ป.บัณฑิต (บริหารการศึกษา) เพราะจะทำให้นักศึกษาได้มีโอกาสศึกษาเรียนรู้ การบริหารจัดการการศึกษานอกสถานที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการได้ไปศึกษาดูงานด้านการบริหารการจัดการศึกษา ณ ประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์ นับได้ว่าได้เป็นสิ่งที่ดีมีประโยชน์เป็นอย่างมาก ซึ่งข้าพเจ้าขอเล่าขั้นตอนการไปศึกษาดูงาน เล่าบรรยากาศ พร้อมด้วยภาพถ่ายสถานที่ต่างๆ ดังนี้
1.การวางแผน เริ่มจากการประชุมชี้แจงโครงการกับเพื่อในชั้นเรียน
2.มติที่ประชุมทั้งหมดตกลงไปศึกษาดูงานประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์ ในระหว่างวันที่ 24-28 ม.ค.2554  วันที่ 1 ของการเดินทาง กำหนดเวลาเดินทางวันที่ 24 ม.ค.54 ด้วยรถทัวร์ของบริษัทศิรินครทัวร์ ออกจาก ม.ราชภัฏนครศรีธรรมราช เวลา 04.00 น. และแวะรับสมาชิกรายทาง ณ จุดต่างๆ เช่น อ.ร่อนพิบูลย์ สามแยกสวนผัก และที่ อ.ป่าพะยอม จ.พัทลุง ถึงด่านชายแดนไทย-มาเลเซีย เวลาประมาณ 11.00 น. จัดการเกี่ยวกับเอกสารการเดินทางออกนอกประเทศเสร็จเรียบร้อย และเดินทางเข้าประเทศมาเลเซีย ผ่านขั้นตอนการตรวจหนังสือเดินทางและสัมภาระ
หลังจากผ่านขั้นตอนต่างๆ เสร็จเรียบร้อยแล้วนั่งรถเดินทางสู่ประเทศมาเลเซีย ชมบรรยากาศ ภูมิประเทศ รู้สึกว่าแตกต่างกับประเทศไทยเป็นอย่างมาก ถนนหนทางกว้างขวาง มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย การขับรถส่วนใหญ่ผู้คนมีการเคารพกฏจราจรอย่างเคร่งครัด นั่งรถไปเรื่อย ๆ ชื่นชมกับธรรมชาติและบรรยากาศสองข้างทาง เพลิดเพลินกับการฟังเพลงเพราะๆ บนรถสลับกับการสนทนาพูดคุย และถึงจุดแรกคือโรงเรียน Kodiang เป็นโรงเรียนประถมศึกษา ตั้งอยู่ในรัฐเคดาห์ มีนักเรียน 500 กว่าคน ครู 50 กว่าคน จัดการเรียนการสอนตั้งแต่อนุบาลถึง ประถมศึกษา เปิดสอนตั้งแต่ 07.00-12.00 น.ที่ประเทศมาเลเซียนักเรียนจะเรียนถึงเที่ยง ส่วนครูนั้นทำการจนถึงประมาณบ่ายสามโมง บรรยากาศในห้องเรียนก็เรียบร้อยดีมาก วันที่ไปถึงนักเรียนเหลืออยู่บางส่วน ซึ่งส่วนใหญ่ดูแล้วเรียบร้อยดี ไม่วุ่นวายเหมือนกับนักเรียนบ้านเรา การจัดห้องสำนักงาน และสิ่งแวดล้อมก็เรียบร้อย เรียบง่าย เน้นความเป็นระเบียบ อาคารเรียนอนุบาลก็แยกต่างหาก ห้องน้ำห้องส้วมสะอาด สรุปภาพรวมแล้วการดูงานที่โรงเรียนแห่งนี้ได้เห็นลักษณะการบริหารจัดการ และบรรยากาศโดยรวมแล้วบางอย่างก็สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในบ้านเราได้หลายอย่าง หลังจากเยี่ยมชมเสร็จแล้วก็ได้มีพิธีการกล่าวต้อนรับของผู้บริหารโรงเรียน Kodiang และกล่าวขอบคุณ พร้อมมอบของที่ระลึกจากคณะนักศึกษา หลังจากนั้นทางโรงเรียนได้จัดอาหารกลางวันคือข้าวมันไก่ไว้เลี้ยงต้อนรับ เสร็จจากนั้นก็อำลากลับขึ้นรถเพื่อเข้าสู่เกาะปีนังต่อไปหลังจากนั้นก็เดินทางเข้าสู่เกาะปีนัง ระหว่างที่นั่งผ่านสองข้างทางระหว่างรัฐเคดาห์ อลอสตาร์ ฮิโปห์ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เกษตรกรรม คือการทำนาที่กว้างใหญ่มาก พื้นที่สีเขียวเต็มทั้งสองข้างทาง และที่น่าประทับใจอีกอย่างคือสองข้างทางถนนที่รถแล่นอยู่นั้นจะมีรั้วรอบ คล้ายกับตะแกรงเหล็ก ทราบจากไกด์ว่าถนนนี้เป็นถนนมอร์เตอร์เวย์ที่รัฐให้บริการประชาชนซึ่งได้กำหนดไว้ว่าจะต้องรั้วเพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงที่อาจจะออกมาวิ่งเพ่นพ่านตามท้องถนนอาจเกิดอุบัติเหตุขึ้นได้ และอีกอย่างหนึ่งคือประทับใจห้องน้ำ ห้องน้ำที่นี่สะอาดมากเพราะมีเจ้าหน้าที่ทำความสะอาดตลอด 24 ชั่วโมง การเติมน้ำมันที่ปั๊มน้ำมัน ถ้าที่บ้านเราจะมีพนักงานปั๊มมาบริการเติมให้ แต่ที่มาเลเซียเจ้าของรถต้องลงมาเติมเองวิธีการคือ ดับเครื่องรถ ไปซื้อบัตรเป็นการ์ดจากเจ้าหน้าที่แล้วมารูดเองว่าจะเติมกี่ลิตร แต่ที่มาเลย์เขากำหนดให้รถแต่ละคันเติมได้ไม่เกิน 20 ลิตรต่อคัน และต้องเข้าคิวตามลำดับก่อนหลัง


นั่งรถไปเรื่อยๆ จนเข้าสู่เกาะปีนั่งในตอนค่ำ เกาะปีนังนี้เมื่อก่อนเป็นของไทยแต่เราต้องเสียดินแดนส่วนนี้ให้กับอังกฤษในสมัย ร.1 เกาะปีนังเป็นรัฐหนึ่งของมาเลย์ เป็นที่ทันสมัยมากมีตึกหรูๆ มากมายหลายตึก มีผู้คนอาศัยอยู่หลายเชื้อชาติ เช่น คนจีน คนอิสลาม ฮินดู และอื่นๆ สภาพโดยทั่วไปคล้ายกับเกาะฮ่องกง มีแหล่งสำคัญ เช่นย่านธุรกิจ ย่านอุตสาหกรรมขนส่งทางเรือ ย่านที่พักอาศัย แต่ที่น่าประทับใจอย่างหนึ่งในมาเลย์คือทุกเมืองเขาจะอนุรักษ์ต้นไม้ การตกแต่งดูแลสิ่งแวดล้อมมีความร่มรื่น และในตัวเมืองคนเขามีความเป็นระเบียบเรียบร้อย ดูไม่วุ่นวายเหมือนบ้านเรา จากนั้นก็รับประทานอาหารเย็น อาหารการกินที่มาเลย์ก็รู้สึกว่าเป็นอาหารรสชาติจืดๆ ไม่คุ้นลิ้นกับคนไทยที่พวกเราชอบ แต่ด้วยความหิวอาหารเย็นมื้อแรกก็เกลี้ยงหมดทุกเมนู หลังจากนั้นก็กลับเข้าพักผ่อนที่โรงแรม
วันที่ 2 ตื่นเช้าเวลา 05.00 น บ้านเรา แต่มาเลย์เวลา 06.00 น. อาบน้ำแต่งตัวเสร็จรับประทานอาหารเช้าที่โรงแรม เดินทางออกจากโรงแรมไปยังป้อมปืนสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง และถ่ายรูปเป็นที่ระลึก เดินทางเข้าสู่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ใช้ระยะทางประมาณ 800 กว่า ก.ม.ก็เพลิดเพลินไปกับบรรยากาศสองข้างทางถึงกรุงกัวลาลัมเปอร์แวะชมพระราชวังของประเทศมาเลเซีย อนุสรณ์ทหารอาสา ถ่ายรูปที่ระลึกตึกแฝดที่เลื่องชื่อ หลังจากนั้นเดินทางสู่เกนติ้งเมืองมหานครแห่งความบันเทิงบนภูเขาสูงด้วยกระเช้าไฟฟ้า(SKY WAY)ที่ทันสมัยและรวดเร็ว ปลอดภัย ท่ามกลางความตื่นเต้น ทึ่งกับทัศนียภาพของขุนเขา และเข้าพักที่โรงแรม พร้อมเดินชมศูนย์รวมความบันเทิง และบ่อนคาสิโนหลากหลายชนิด
วันที่ 3  รับประทานอาหารเช้าที่โรงแรม   AQUEEN HOTEL  เดินทางไปชม  สิงโตพ่นน้ำ สัญลักษณ์ของประเทศสิงคโปร์  รับประทานอาหารเที่ยวชมบริเวณอ่าวสิงคโปร์  บริเวณเมอร์ไลออน  ร้านดิวตี้ฟรี ช้อบปิ้งบริเวณถน              ออร์ชาร์ด รับประทานอาหารเที่ยง  เกาะเซ็นโตซ่า (Sentosa) ซึ่งเป็นเกาะที่สร้างขึ้นตามความคิดฝัน  ให้เป็นแหล่งบันเทิง  ชมยูนิเวอร์เซล ชมภาพยนตร์ 4 มิติ ( 4D ) ที่ตื่นตาตื่นใจ  นั่งรถไฟฟ้า ชมบรรยากาศรอบเกาะเซนโตซา            รับประทานอาหารเย็น ชมน้ำพุเต้นระบำ Song of the sea  ล่องเรือชมอ่าวสิงคโปร์  ออกจากสิงคโปร์กลับสู่ประเทศมาเลเซีย  เข้าพักโรงแรม Selasa  ซึ่งเป็นโรงแรมอยู่ชายแดนมาเลเซียด้านที่ต่อกับประเทศสิงคโปร์
วันที่ 4 รับประทานอาหารเช้าที่โรงแรม   Selasa  ออกจากโรงแรม    มุ่งหน้าสู่ด่านจังโหลน   แวะรับประทานอาหารเที่ยง   ถึงร้านดิวตี้ฟรี บริเวณชายแดนมาเลเซีย  ให้ทุกคนซื้อของฝาก  และเดินทางสู่ประเทศไทย  ด่านสะเดา  รับประทานอาหารเย็นตามอัธยาศัย  เดินทางมุ่งหน้าสู่ จ.นครศรีธรรมราช จอดให้นักศึกษาที่ลงระหว่างทาง  2 จุดและเดินทางต่อถึงมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช  ประมาณ  23.00  น.

วันอังคารที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่ 4 swot โรงเรียนลำทับประชานุเคราะห์

สภาพทั่วไปของโรงเรียน
ประวัติโดยสังเขป
โรงเรียนลำทับประชานุเคราะห์ เป็นโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากระบี่กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งอยู่เลขที่ 111 หมู่ที่ 3 ตำบลลำทับ อำเภอลำทับ จังหวัดกระบี่ เดิมเป็นที่สาธารณะประโยชน์ ประชาชนที่เข้าไปทำผลประโยชน์ในพื้นที่มีความยินดีบริจาคที่ดินจำนวน 115 ไร่ ให้แก่ทางโรงเรียนเพื่อดำเนินการก่อตั้งโรงเรียน
เมื่อปี 2519 ได้มีกลุ่มนักพัฒนาการศึกษาโดยมี นายอรุณ สุชาฎา และคณะได้เขียนโครงการสร้างโรงเรียน และนำเสนอกำนันลาภ ศรีสุข เพื่อก่อตั้งโรงเรียนต่อไป
ต่อมาเมื่อ วันที่ 2 มิถุนายน 2520 ได้เปิดรับนักเรียนเข้าเรียนปีแรก โดยมีนายสมศักดิ์ บุรินทร์กุล เป็นครูใหญ่
โรงเรียนเปิดสอน ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นตลอดมาจนถึง พ.ศ. 2537 จึงได้รับอนุมัติจากกรมสามัญศึกษาให้เปิดสอนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ซึ่งประกอบด้วย คณะครู – อาจารย์ ในโรงเรียนมีทั้งหมด 8 คน เพศหญิงจำนวน 7 คน เพศชายจำนวน 1 คน ผู้ที่มีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาโท มีจำนวน 1 คน วุฒิปริญญาตรีจำนวน 7 คน อายุเฉลี่ยของครู ประมาณ 41 ปี ประสบการณ์ทำงานของครูเฉลี่ย 15 ปี และมีจำนวนอาคารเรียน มีจำนวน 1 หลัง เป็นอาคาร ป 1 ฉ. อาคารโรงฝึกงานจำนวน 1 หลัง ปัจจุบันใช้เป็นที่รับประทานอาหารกลางวันของนักเรียน
ปัจจุบันรับนักเรียนทั้งระดับช่วงชั้นที่ 3 และช่วงชั้นที่ 4 มีนักเรียน 677 คน ครู 34 คน นายณรงค์ ทรัพย์ชนะกุล เป็น ผอ.โรงเรียน

จุดแข็ง ( Strengths )
 มีความชัดเจนในการกำหนดวิสัยทัศน์
 มีการพัฒนาบุคลากรโดยให้โอกาสไปอบรม ประชุม สัมมนาและศึกษาดูงาน
 มีการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
 ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
 มีการส่งเสริมความสามารถของนักเรียนในด้านสุนทรียภาพ ศิลปะ และกีฬา
 มีการส่งเสริมนักเรียนในด้านจิตสำนึกในความเป็นไทย อนุรักษ์ประเพณี วัฒนธรรม ไทยและภูมิปัญญาท้องถิ่น
 มีการจัดสรรบุคลากรสอนตรงตามวิชาเอก
 มีการส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรมีความสามารถในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
 มีการส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรได้รับการพัฒนาวิชาชีพอย่างต่อเนื่องและเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด
 โรงเรียนมีพื้นที่มากพอที่จะพัฒนาให้เป็นแหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียน
 มีการจัดองค์กร โครงสร้างในการบริหารงานอย่างเป็นระบบครบวงจร
 ผู้บริหารมีวิสัยทัศน์ มีภาวะผู้นำ มีความสามารถในการบริหารจัดการ
จุดอ่อน ( Weakness )
 ขาดการดำเนินการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างจริงจังและเป็นรูปธรรม
 นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำกว่าเกณฑ์
 บุคลากรมีไม่เพียงพอ
 ครูมีภาระงานนอกเหนือจากงานสอนมาก
 สภาพของอาคาร สถานที่ไม่เอื้อต่อการเรียนรู้
 ห้องปฏิบัติการต่างๆยังขาดประสิทธิภาพและไม่เพียงพอ
 สื่อและอุปกรณ์ด้านเทคโนโลยีมีไม่เพียงพอ
 ระบบการควบคุมภายในขาดประสิทธิภาพ
 การวางแผนการใช้เงินไม่มีประสิทธิภาพ
 การใช้จ่ายเงินไม่เป็นไปตามแผน
 ขาดการนำระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายในมาใช้อย่างจริงจัง
 ขาดการนิเทศ ติดตาม การปฏิบัติงานของบุคลากร

โอกาส ( Opportunities )
 ลักษณะทำเล ที่ตั้งและสภาพแวดล้อมของชุมชนมีแหล่งเรียนรู้ของนักเรียนที่หลากหลาย
 ชุมชนเป็นชุมชนเกษตรกร จึงมีการพัฒนาด้านเทคโนโลยีการเกษตรค่อนข้างมาก
 สภาพทางเศรษฐกิจของผู้ปกครองส่วนใหญ่อยู่ในระดับดี
 มีสถานประกอบการมากขึ้น ทำให้มีการจ้างงานมากขึ้น
 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้การสนับสนุนด้านงบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ และบุคลากร
อุปสรรค ( Threats )
 ชุมชนมีแหล่งอบายมุขเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นแบบอย่างที่ไม่ดีและเป็นแหล่งมั่วสุม
 ชุมชนไม่ให้ความสำคัญ ต่อการรณรงค์ ลด ละ เลิกอบายมุข
 ชุมชนให้ความสำคัญต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรน้อย
 การส่งเสริมและสนับสนุนด้านเทคโนโลยีการสื่อสารและโทรคมนาคมน้อย
 สภาวะดินฟ้า อากาศ มีผลกระทบต่อรายได้ของชุมชน
 ระเบียบปฏิบัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่เอื้อต่อการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
 รายได้ของคนในชุมชนไม่มีความแน่นอนขึ้นอยู่กับสภาพดินฟ้าอากาศ และราคาพืชผลทางการเกษตร

วันอาทิตย์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่ 3 การใช้ spss

การใช้ โปรแกรม SPSS เพื่อหาค่าต่าง ในการวิจัย
มีวิธีการ ดังต่อไปนี้
1. เปิดโปรแกรม spss ที่ได้ติดตั้งไว้ก่อนหน้านี้แล้ว
2. ในช่อง Variable view ให้ใส่ตัวแปรต้นและตัวแปรตาม ที่ได้กำหนดไว้ในแบบสอบถาม
เช่น เพศ อายุ ชั้นเรียน อาชีพผู้ปกครอง คำถามข้อ 1 ข้อ 2 ไปเรื่อยๆ จนถึงข้อสุดท้าย
3. ในช่อง values ให้ใส่ค่า และคำแทนค่านั้น ๆ เช่น 1 เพศชาย 2 เพศหญิง ทั้งนี้ต้องวางแผนไว้ก่อนในแบบสอบถาม จนครบทุกตัวแปร
4. มาที่ Data view นำค่าที่ได้จากแบบสอบถาม เริ่มจากตัวแปรแรก-สุดท้ายต่อด้วยข้อคำถามแรก-สุดท้ายจนหมดแบบสอบถาม
5. ตรวจสอบความเรียบร้อยถูกต้อง
6. การหาค่าต่าง ๆ ใช้คำสั่ง Anaiyze
6.1 ต้องการหาร้อยละ ไปที่ Anaiyze – Frequencies เลือกตัวแปร เช่น เพศ อายุ คำถามข้อที่ต้องการหาค่า มาใส่ในช่อง Variable คลิก statistics –เลือกสถิติที่ต้องการ – ok
6.2 การหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ไปที่คำสั่ง Analyze –Descriptives เลือกตัวแปรเหมือน 6.1 ใส่ใน Variable คลิก option เลือกสถิติที่ต้องการ – ok
7. การตั้งค่าตัวแปรใหม่ Transform –compute ในหน้าต่าง compute ที่ taget variable ใส่ชื่อตัวแปรใหม่ เช่น ta tb คลิก Function เลือกคำสั่ง Sum(numexpr,numexpr….) – เลือกข้อที่ต้องการรวมเป็นตัวแปรใหม่ทุกข้อ ใส่เครื่องหมาย / ใส่จำนวนข้อ – ok

หมายเหตุ ใช้เป็นมาก่อนแล้วครับ เพราะต้องคำนวณหาค่าประกอบการวิจัย การประเมินต่าง ๆ