ผลที่ได้จากการเรียนการทำ blog
1. เป็นเครื่องมือแลกเปลี่ยนความรู้ของผู้เรียน การเขียน blog จะอนุญาตให้ผู้อ่านสามารถแสดงความคิดเห็นต่อความรู้ที่ผู้เรียนเขียนถ่ายทอดลงไปใน blog และผู้เรียนได้เขียนโต้ตอบต่อความคิดเห็นนั้น ๆ ในลักษณะของการสนทนาเพื่อหาความแตกฉานในตัวความรู้ ถือได้ว่าเป็นการร่วมกันสกัดความรู้ฝังลึกได้อย่างดี
2. ผู้เรียนสามารถใช้เป็นเครื่องมือสร้างความรู้ บันทึกข้อมูล เรื่องราว ข่าวสารความรู้และประสบการณ์ต่าง ๆ ในสิ่งที่สนใจ เป็นการถ่ายทอดสิ่งที่ถูกบันทึกไว้ในสมองลงสู่ตัวหนังสือ การเขียนมีอิสระทางความคิดในรูปแบบที่เป็นตัวของตัวเอง ถ้าผู้เรียนมีการเขียน blog อยู่เป็นประจำก็จะสามารถนำมาสู่การสร้างขุมความรู้ ( Knowledge Assets ) ของผู้เรียนอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ ผู้เรียนสามารถเก็บรวบรวมและแก้ไขหรือเพิ่มเติมข้อมูลความรู้ต่าง ๆ ได้โดยสะดวกและ รวดเร็ว
3. เป็นเครื่องมือในการค้นหาความรู้ ของผู้เรียน ผู้ชำนาญการ และชุมชนปฏิบัติ การเขียนและอ่าน blog เป็นวิธีการค้นหาความรู้ ช่วยให้ค้นพบผู้มีความรู้ความชำนาญในด้านต่าง ๆ ได้รวดเร็วขึ้น ไม่ว่าจะโดยการเขียน blog ที่มักอ้างถึง blog อื่น ๆ โดยการโยงลิงค์ไปหาบทความหรือบันทึกนั้น ๆ อีกทั้งลิงค์ที่ผู้เรียนบรรจุไว้ใน blog ซึ่งอยู่นอกตัวบทความ หรือการร่วมเป็นสมาชิกของ blog ในกลุ่มที่เรียน
4. เป็นเครื่องมือในการเผยแพร่ความรู้ ให้กับผู้เรียน โดยหลักการของ blog คือการเผยแพร่เรื่องราวที่ผู้เขียนเขียนไว้บน blog เพื่อแสดงตัวตนของผู้เขียนออกสู่สาธารณชนซึ่งนั่นหมายถึง blog ย่อมมีความสามารถในการสนับสนุนการเข้าถึงความรู้ได้ง่าย สะดวก และรวดเร็ว ทันทีที่ผู้เขียนมีการเพิ่มเติมหรือแก้ไขความรู้ที่มีอยู่บน blog ไฟล์ RSS ก็จะทำการดึงเอาเนื้อหานั้น ๆ มาใส่ไว้ในไฟล์ด้วยทันที
5. เป็นเครื่องมือในการรวบรวมและแยกแยะประเภทของความรู้ สกัดแก่นความรู้ และสร้างความสัมพันธ์ของความรู้ การให้ผู้เรียนระบุหมวดหมู่หรือคีย์เวิร์ดของบันทึกนั้น ๆ ไว้ ซึ่งบันทึกหนึ่ง ๆ อาจมีความเหมาะสมในการแยกหลายหมวดหมู่ ถือเป็นการสกัดแก่นความรู้จากขุมความรู้ โดยที่ตัวผู้เรียนเอง อาจจะดึงเอาคีย์เวิร์ดของชุมชนที่ถูกรวบรวมผู้ใช้หลายคน
6. เป็นเครื่องมือในการสร้างลำดับความน่าเชื่อถือและความถูกต้องของความรู้ ของผู้เรียนโดยมีผู้นำเอาความรู้นั้นไปใช้ ให้เกิดผลและนำผลมาปรับปรุงความรู้เดิมให้เกิดความรู้ตัวใหม่ หรือทำให้ความรู้นั้น ๆ มีความถูกต้องมีหลักฐานที่วัดได้ทางวิทยาศาสตร์ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ระบบมีการจัดลำดับความน่าเชื่อถือ และความถูกต้องของความรู้หนึ่ง ๆ ได้โดยตรงจากผู้อ่าน blog ซึ่งอาจจะเป็น ผู้ที่ได้นำเอาความรู้นั้นๆ ไปใช้เองอีกด้วย หรือการแสดงสถิติต่างๆของ blog เช่น บันทึกที่ได้รับการแสดงข้อคิด เห็นมากที่สุด หรือ บันทึกที่มีผู้อ่านมากที่สุด ก็สามารถเป็นเครื่องมือพิสูจน์ความน่าเชื่อถือ และความถูกต้องของความรู้ของผู้เรียนได้ในระดับหนึ่ง
7. ได้ฝึกประสบการณ์ในการใช้คอมพิวเตอร์เพิ่มมากขึ้น ทำให้ผู้เรียนมีความคล่องตัวในการใช้ เครื่องคอมพิวเตอร์มากขึ้น
8. นำความรู้ที่ได้มาสอนนักเรียนและการทำ KM ในองค์กร/โรงเรียนของตนเอง