วันอังคารที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่ 4 swot โรงเรียนลำทับประชานุเคราะห์

สภาพทั่วไปของโรงเรียน
ประวัติโดยสังเขป
โรงเรียนลำทับประชานุเคราะห์ เป็นโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากระบี่กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งอยู่เลขที่ 111 หมู่ที่ 3 ตำบลลำทับ อำเภอลำทับ จังหวัดกระบี่ เดิมเป็นที่สาธารณะประโยชน์ ประชาชนที่เข้าไปทำผลประโยชน์ในพื้นที่มีความยินดีบริจาคที่ดินจำนวน 115 ไร่ ให้แก่ทางโรงเรียนเพื่อดำเนินการก่อตั้งโรงเรียน
เมื่อปี 2519 ได้มีกลุ่มนักพัฒนาการศึกษาโดยมี นายอรุณ สุชาฎา และคณะได้เขียนโครงการสร้างโรงเรียน และนำเสนอกำนันลาภ ศรีสุข เพื่อก่อตั้งโรงเรียนต่อไป
ต่อมาเมื่อ วันที่ 2 มิถุนายน 2520 ได้เปิดรับนักเรียนเข้าเรียนปีแรก โดยมีนายสมศักดิ์ บุรินทร์กุล เป็นครูใหญ่
โรงเรียนเปิดสอน ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นตลอดมาจนถึง พ.ศ. 2537 จึงได้รับอนุมัติจากกรมสามัญศึกษาให้เปิดสอนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ซึ่งประกอบด้วย คณะครู – อาจารย์ ในโรงเรียนมีทั้งหมด 8 คน เพศหญิงจำนวน 7 คน เพศชายจำนวน 1 คน ผู้ที่มีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาโท มีจำนวน 1 คน วุฒิปริญญาตรีจำนวน 7 คน อายุเฉลี่ยของครู ประมาณ 41 ปี ประสบการณ์ทำงานของครูเฉลี่ย 15 ปี และมีจำนวนอาคารเรียน มีจำนวน 1 หลัง เป็นอาคาร ป 1 ฉ. อาคารโรงฝึกงานจำนวน 1 หลัง ปัจจุบันใช้เป็นที่รับประทานอาหารกลางวันของนักเรียน
ปัจจุบันรับนักเรียนทั้งระดับช่วงชั้นที่ 3 และช่วงชั้นที่ 4 มีนักเรียน 677 คน ครู 34 คน นายณรงค์ ทรัพย์ชนะกุล เป็น ผอ.โรงเรียน

จุดแข็ง ( Strengths )
 มีความชัดเจนในการกำหนดวิสัยทัศน์
 มีการพัฒนาบุคลากรโดยให้โอกาสไปอบรม ประชุม สัมมนาและศึกษาดูงาน
 มีการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
 ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
 มีการส่งเสริมความสามารถของนักเรียนในด้านสุนทรียภาพ ศิลปะ และกีฬา
 มีการส่งเสริมนักเรียนในด้านจิตสำนึกในความเป็นไทย อนุรักษ์ประเพณี วัฒนธรรม ไทยและภูมิปัญญาท้องถิ่น
 มีการจัดสรรบุคลากรสอนตรงตามวิชาเอก
 มีการส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรมีความสามารถในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
 มีการส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรได้รับการพัฒนาวิชาชีพอย่างต่อเนื่องและเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด
 โรงเรียนมีพื้นที่มากพอที่จะพัฒนาให้เป็นแหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียน
 มีการจัดองค์กร โครงสร้างในการบริหารงานอย่างเป็นระบบครบวงจร
 ผู้บริหารมีวิสัยทัศน์ มีภาวะผู้นำ มีความสามารถในการบริหารจัดการ
จุดอ่อน ( Weakness )
 ขาดการดำเนินการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างจริงจังและเป็นรูปธรรม
 นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำกว่าเกณฑ์
 บุคลากรมีไม่เพียงพอ
 ครูมีภาระงานนอกเหนือจากงานสอนมาก
 สภาพของอาคาร สถานที่ไม่เอื้อต่อการเรียนรู้
 ห้องปฏิบัติการต่างๆยังขาดประสิทธิภาพและไม่เพียงพอ
 สื่อและอุปกรณ์ด้านเทคโนโลยีมีไม่เพียงพอ
 ระบบการควบคุมภายในขาดประสิทธิภาพ
 การวางแผนการใช้เงินไม่มีประสิทธิภาพ
 การใช้จ่ายเงินไม่เป็นไปตามแผน
 ขาดการนำระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายในมาใช้อย่างจริงจัง
 ขาดการนิเทศ ติดตาม การปฏิบัติงานของบุคลากร

โอกาส ( Opportunities )
 ลักษณะทำเล ที่ตั้งและสภาพแวดล้อมของชุมชนมีแหล่งเรียนรู้ของนักเรียนที่หลากหลาย
 ชุมชนเป็นชุมชนเกษตรกร จึงมีการพัฒนาด้านเทคโนโลยีการเกษตรค่อนข้างมาก
 สภาพทางเศรษฐกิจของผู้ปกครองส่วนใหญ่อยู่ในระดับดี
 มีสถานประกอบการมากขึ้น ทำให้มีการจ้างงานมากขึ้น
 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้การสนับสนุนด้านงบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ และบุคลากร
อุปสรรค ( Threats )
 ชุมชนมีแหล่งอบายมุขเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นแบบอย่างที่ไม่ดีและเป็นแหล่งมั่วสุม
 ชุมชนไม่ให้ความสำคัญ ต่อการรณรงค์ ลด ละ เลิกอบายมุข
 ชุมชนให้ความสำคัญต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรน้อย
 การส่งเสริมและสนับสนุนด้านเทคโนโลยีการสื่อสารและโทรคมนาคมน้อย
 สภาวะดินฟ้า อากาศ มีผลกระทบต่อรายได้ของชุมชน
 ระเบียบปฏิบัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่เอื้อต่อการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
 รายได้ของคนในชุมชนไม่มีความแน่นอนขึ้นอยู่กับสภาพดินฟ้าอากาศ และราคาพืชผลทางการเกษตร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น