วันอังคารที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่ 4 swot โรงเรียนลำทับประชานุเคราะห์

สภาพทั่วไปของโรงเรียน
ประวัติโดยสังเขป
โรงเรียนลำทับประชานุเคราะห์ เป็นโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากระบี่กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งอยู่เลขที่ 111 หมู่ที่ 3 ตำบลลำทับ อำเภอลำทับ จังหวัดกระบี่ เดิมเป็นที่สาธารณะประโยชน์ ประชาชนที่เข้าไปทำผลประโยชน์ในพื้นที่มีความยินดีบริจาคที่ดินจำนวน 115 ไร่ ให้แก่ทางโรงเรียนเพื่อดำเนินการก่อตั้งโรงเรียน
เมื่อปี 2519 ได้มีกลุ่มนักพัฒนาการศึกษาโดยมี นายอรุณ สุชาฎา และคณะได้เขียนโครงการสร้างโรงเรียน และนำเสนอกำนันลาภ ศรีสุข เพื่อก่อตั้งโรงเรียนต่อไป
ต่อมาเมื่อ วันที่ 2 มิถุนายน 2520 ได้เปิดรับนักเรียนเข้าเรียนปีแรก โดยมีนายสมศักดิ์ บุรินทร์กุล เป็นครูใหญ่
โรงเรียนเปิดสอน ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นตลอดมาจนถึง พ.ศ. 2537 จึงได้รับอนุมัติจากกรมสามัญศึกษาให้เปิดสอนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ซึ่งประกอบด้วย คณะครู – อาจารย์ ในโรงเรียนมีทั้งหมด 8 คน เพศหญิงจำนวน 7 คน เพศชายจำนวน 1 คน ผู้ที่มีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาโท มีจำนวน 1 คน วุฒิปริญญาตรีจำนวน 7 คน อายุเฉลี่ยของครู ประมาณ 41 ปี ประสบการณ์ทำงานของครูเฉลี่ย 15 ปี และมีจำนวนอาคารเรียน มีจำนวน 1 หลัง เป็นอาคาร ป 1 ฉ. อาคารโรงฝึกงานจำนวน 1 หลัง ปัจจุบันใช้เป็นที่รับประทานอาหารกลางวันของนักเรียน
ปัจจุบันรับนักเรียนทั้งระดับช่วงชั้นที่ 3 และช่วงชั้นที่ 4 มีนักเรียน 677 คน ครู 34 คน นายณรงค์ ทรัพย์ชนะกุล เป็น ผอ.โรงเรียน

จุดแข็ง ( Strengths )
 มีความชัดเจนในการกำหนดวิสัยทัศน์
 มีการพัฒนาบุคลากรโดยให้โอกาสไปอบรม ประชุม สัมมนาและศึกษาดูงาน
 มีการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
 ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
 มีการส่งเสริมความสามารถของนักเรียนในด้านสุนทรียภาพ ศิลปะ และกีฬา
 มีการส่งเสริมนักเรียนในด้านจิตสำนึกในความเป็นไทย อนุรักษ์ประเพณี วัฒนธรรม ไทยและภูมิปัญญาท้องถิ่น
 มีการจัดสรรบุคลากรสอนตรงตามวิชาเอก
 มีการส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรมีความสามารถในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
 มีการส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรได้รับการพัฒนาวิชาชีพอย่างต่อเนื่องและเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด
 โรงเรียนมีพื้นที่มากพอที่จะพัฒนาให้เป็นแหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียน
 มีการจัดองค์กร โครงสร้างในการบริหารงานอย่างเป็นระบบครบวงจร
 ผู้บริหารมีวิสัยทัศน์ มีภาวะผู้นำ มีความสามารถในการบริหารจัดการ
จุดอ่อน ( Weakness )
 ขาดการดำเนินการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างจริงจังและเป็นรูปธรรม
 นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำกว่าเกณฑ์
 บุคลากรมีไม่เพียงพอ
 ครูมีภาระงานนอกเหนือจากงานสอนมาก
 สภาพของอาคาร สถานที่ไม่เอื้อต่อการเรียนรู้
 ห้องปฏิบัติการต่างๆยังขาดประสิทธิภาพและไม่เพียงพอ
 สื่อและอุปกรณ์ด้านเทคโนโลยีมีไม่เพียงพอ
 ระบบการควบคุมภายในขาดประสิทธิภาพ
 การวางแผนการใช้เงินไม่มีประสิทธิภาพ
 การใช้จ่ายเงินไม่เป็นไปตามแผน
 ขาดการนำระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายในมาใช้อย่างจริงจัง
 ขาดการนิเทศ ติดตาม การปฏิบัติงานของบุคลากร

โอกาส ( Opportunities )
 ลักษณะทำเล ที่ตั้งและสภาพแวดล้อมของชุมชนมีแหล่งเรียนรู้ของนักเรียนที่หลากหลาย
 ชุมชนเป็นชุมชนเกษตรกร จึงมีการพัฒนาด้านเทคโนโลยีการเกษตรค่อนข้างมาก
 สภาพทางเศรษฐกิจของผู้ปกครองส่วนใหญ่อยู่ในระดับดี
 มีสถานประกอบการมากขึ้น ทำให้มีการจ้างงานมากขึ้น
 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้การสนับสนุนด้านงบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ และบุคลากร
อุปสรรค ( Threats )
 ชุมชนมีแหล่งอบายมุขเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นแบบอย่างที่ไม่ดีและเป็นแหล่งมั่วสุม
 ชุมชนไม่ให้ความสำคัญ ต่อการรณรงค์ ลด ละ เลิกอบายมุข
 ชุมชนให้ความสำคัญต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรน้อย
 การส่งเสริมและสนับสนุนด้านเทคโนโลยีการสื่อสารและโทรคมนาคมน้อย
 สภาวะดินฟ้า อากาศ มีผลกระทบต่อรายได้ของชุมชน
 ระเบียบปฏิบัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่เอื้อต่อการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
 รายได้ของคนในชุมชนไม่มีความแน่นอนขึ้นอยู่กับสภาพดินฟ้าอากาศ และราคาพืชผลทางการเกษตร

วันอาทิตย์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่ 3 การใช้ spss

การใช้ โปรแกรม SPSS เพื่อหาค่าต่าง ในการวิจัย
มีวิธีการ ดังต่อไปนี้
1. เปิดโปรแกรม spss ที่ได้ติดตั้งไว้ก่อนหน้านี้แล้ว
2. ในช่อง Variable view ให้ใส่ตัวแปรต้นและตัวแปรตาม ที่ได้กำหนดไว้ในแบบสอบถาม
เช่น เพศ อายุ ชั้นเรียน อาชีพผู้ปกครอง คำถามข้อ 1 ข้อ 2 ไปเรื่อยๆ จนถึงข้อสุดท้าย
3. ในช่อง values ให้ใส่ค่า และคำแทนค่านั้น ๆ เช่น 1 เพศชาย 2 เพศหญิง ทั้งนี้ต้องวางแผนไว้ก่อนในแบบสอบถาม จนครบทุกตัวแปร
4. มาที่ Data view นำค่าที่ได้จากแบบสอบถาม เริ่มจากตัวแปรแรก-สุดท้ายต่อด้วยข้อคำถามแรก-สุดท้ายจนหมดแบบสอบถาม
5. ตรวจสอบความเรียบร้อยถูกต้อง
6. การหาค่าต่าง ๆ ใช้คำสั่ง Anaiyze
6.1 ต้องการหาร้อยละ ไปที่ Anaiyze – Frequencies เลือกตัวแปร เช่น เพศ อายุ คำถามข้อที่ต้องการหาค่า มาใส่ในช่อง Variable คลิก statistics –เลือกสถิติที่ต้องการ – ok
6.2 การหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ไปที่คำสั่ง Analyze –Descriptives เลือกตัวแปรเหมือน 6.1 ใส่ใน Variable คลิก option เลือกสถิติที่ต้องการ – ok
7. การตั้งค่าตัวแปรใหม่ Transform –compute ในหน้าต่าง compute ที่ taget variable ใส่ชื่อตัวแปรใหม่ เช่น ta tb คลิก Function เลือกคำสั่ง Sum(numexpr,numexpr….) – เลือกข้อที่ต้องการรวมเป็นตัวแปรใหม่ทุกข้อ ใส่เครื่องหมาย / ใส่จำนวนข้อ – ok

หมายเหตุ ใช้เป็นมาก่อนแล้วครับ เพราะต้องคำนวณหาค่าประกอบการวิจัย การประเมินต่าง ๆ

วันเสาร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่ 1 แนะนำตนเอง

ชื่อ                                          นายสิทธิชัย  เดชาสิทธิ์
วัน เดือน ปีเกิด                    28 กันยายน  2511
การศึกษา                              
ปริญญาโท
ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (ศน.ม)  วิชาเอกรัฐศาตร์การปกครอง
ปริญญาตรี
1. ส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์บัณฑิต (สส.บ)  วิชาเอกส่งเสริมการเกษตร  จากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
2. ศึกษาศาสตร์บันฑิต  (ศษ.บ)  วิชาภาษาไทย  จากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

3. ส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์บัณฑิต (สส.บ)  วิชาเอกสหกรณ์  จากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

4. ศึกษาศาสตร์บันฑิต  (ศษ.บ)  วิชาเทคโนโลยี่และสื่อสารการศึกษา  จากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
อาชีพ                                     รับราชการครู
สถานที่ทำงาน                     โรงเรียนลำทับประชานุเคราะห์  อ.ลำทับ  จ.กระบี่
โทร. 08-94727-088
ชื่อ Blog        Mysittichai023.blogspot.com